HOME
HOME, 2017
Series of 5 photography
Dimension variable
Courtesy of the Artist
Iranian artist, Gohar DASHTI has been making large scale photography with a particular focus on social issues for the past 16 years. Her work references history and contemporary culture, as well as the convergence of anthropological and sociological perspectives. Employing a unique, quasi-theatrical aesthetic, she brings a diverse intellectual and cultural experience to illuminate and elaborate her perception of the world around her. Through her highly stylized the HOME series, presented at the Phimai National Museum, DASHTI has explored, densely poetic observations of human and plant-life, the innate kinship between the natural world and human migrations. DASHTI believes that nature is what connects her to the multiple meanings of ‘home’ and ‘displacement’, both as conceptual abstractions, and as concrete realities that delineate and contour our existence. The result is a series of quirky landscapes and portraits, as lush as they are arch, inciting questions about the immense, variegated, border-eschewing reach of nature; a nature immune to cultural and political divisions. The work also addresses and the ways in which immigrants inevitably search out and reconstruct familiar topographies in a new, ostensibly foreign land.
บ้าน
บ้าน, 2560
ชุดภาพถ่าย 5 ชิ้น
150 x 100 ซม. ต่อชิ้น
สมบัติของศิลปิน
ศิลปินชาวอิหร่าน โกฮาร์ ดัชติ สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายขนาดใหญ่โดยมุ่งเน้นที่ประเด็นทางสังคมตลอดช่วง 16 ปีที่ผ่านมา ผลงานของเธออ้างอิงถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมสมัย รวมไปถึงการบรรจบกันของมุมมองทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา เธอใช้ประสบการณ์ทางปัญญาและวัฒนธรรมอันหลากหลายเพื่อสร้างความกระจ่างชัดและให้รายละเอียดเพิ่มเติมในมุมมองของเธอที่มีต่อโลกรอบตัว โดยใช้สุนทรียศาสตร์กึ่งการละครที่มีเอกลักษณ์ ผ่านผลงานภาพถ่ายชุด บ้านซึ่งจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ดัชติได้สำรวจการสังเกตการณ์มนุษย์และพืชพันธุ์ในเชิงกวีอย่างเข้มข้น เป็นเครือญาติ/สายสัมพันธ์โดยกำเนิดระหว่างโลกธรรมชาติกับการอพยพของมนุษย์ ดัชติเชื่อว่าธรรมชาติคือสิ่งที่เชื่อมโยงเธอกับความหมายที่หลากหลายของ ‘บ้าน’ และ ‘การกระจัดกระจาย’ ทั้งในรูปแบบนามธรรมเชิงแนวคิด และในฐานะความเป็นจริงที่เป็นรูปธรรมซึ่งกำหนดขอบเขตและรูปแบบการดำรงอยู่ของเรา ผลลัพธ์ที่ได้คือชุดของภูมิทัศน์และภาพถ่ายบุคคลสุดแหวกแนว เขียวชอุ่มราวกับเป็นซุ้มประตู ซึ่งกระตุ้นให้เกิดคำถามเกี่ยวกับการเข้าถึงธรรมชาติอันกว้างใหญ่ หลากหลาย ไร้พรมแดน ธรรมชาติที่มีภูมิคุ้มกันต่อการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมและการเมือง งานนี้ยังกล่าวถึงวิธีการที่ผู้อพยพจำเป็นต้องเสาะหาและสร้างภูมิประเทศที่คุ้นเคยบนผืนดินใหม่ในต่างแดน