Trace Legend
Trace Legend, 2021
Multi-disciplinary art, marionette installation, live performance
Dimension variable
Thailand Biennale, Korat 2021 commission
Trace Legend is a puppet-performance and installation by the Sema Thai Marionette Foundation, a Korat-based marionette theater. The company is led by Nimit Pipithkul, a puppet master who is not only known for his puppeteering but also known for his puppet-making skills. Trace centers around the fundamental resources of the province: the earth. It traces the relationships between human and nature in the Korat area through interpreting diverse materials such as fossils, artifacts, and literature. It attempts to tell the story of Nakhon Ratchasima Province through the point of view of animals and reconnects the audience with biodiversity and the possibility of coexistence. Not only is the story about the earth, the puppets in the performance are made of lightweight clay taken from the Dan Kwian district. It is a technique that Sema Thai has been researching for their productions. The four-tusked elephant Marionette and other props will be installed at the exhibition hall of the Khorat Fossil Museum, where they will generate an interactive installation when the story is not performed.
ร่องรอยในตำนาน
ร่องรอยในตำนาน, 2564
สหศาสตร์ศิลป์, หุ่นสายจัดวาง, การแสดงสด
ขนาดผันแปรตามพื้นที่
ไทยแลนด์เบียนนาเล่ โคราช 2021 คอมมิชชัน
ร่องรอยในตำนาน เป็นการแสดงหุ่นสายและผลงานจัดวางโดยมูลนิธิหุ่นสายเสมาศิลปะเพื่อสังคม โรงละครหุ่นสายในโคราช นำโดย นิมิตร พิพิธกุล ปรมาจารย์หุ่นสาย ที่ไม่เพียงเป็นที่รู้จักในฐานะนักเชิดหุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สร้างหุ่นเชิดอีกด้วย ร่องรอยในตำนานให้ความสำคัญกับดินในฐานะแหล่งทรัพยากรพื้นฐานของจังหวัด พวกเขาสืบหาร่องรอยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติในพื้นที่โคราชผ่านการตีความจากข้อมูลหลากประเภท เช่น ฟอสซิล สิ่งประดิษฐ์ และวรรณกรรม ศิลปินพยายามเล่าเรื่องของจังหวัดนครราชสีมาผ่านมุมมองของสัตว์ เชื่อมความสัมพันธ์ของผู้ชมกับธรรมชาติด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นไปได้ในการอยู่ร่วมกัน ผลงานชุดนี้ไม่เพียงนำดินมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราว แต่ยังนำดินเหนียวน้ำหนักเบาจากอำเภอด่านเกวียนมาเป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ โดยพัฒนาจากความรู้ที่เสมาไทยได้ทำการศึกษาเพื่อการผลิตหุ่นของตนเอง หุ่นเชิดช้างสี่งาและอุปกรณ์ประกอบฉากอื่น ๆ จะถูกติดตั้ง ณ ห้องโถงนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ช้างสี่งาลูกผสมซึ่งเป็นตัวผลงานจะทำหน้าที่เป็นศิลปะปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ไม่มีการแสดง