Notice: file_get_contents(): read of 8192 bytes failed with errno=21 Is a directory in /home/soci5838/thailandbiennale.org/tbk2021/wp-includes/functions.php on line 4629

Notice: wp_json_file_decode(): Error when decoding a JSON file at path /home/soci5838/thailandbiennale.org/tbk2021/wp-content/themes/thailand-biennale-korat/resources: Syntax error in /home/soci5838/thailandbiennale.org/tbk2021/wp-includes/functions.php on line 6085

Notice: file_get_contents(): read of 8192 bytes failed with errno=21 Is a directory in /home/soci5838/thailandbiennale.org/tbk2021/wp-includes/functions.php on line 4629

Notice: wp_json_file_decode(): Error when decoding a JSON file at path /home/soci5838/thailandbiennale.org/tbk2021/wp-content/themes/thailand-biennale-korat/resources: Syntax error in /home/soci5838/thailandbiennale.org/tbk2021/wp-includes/functions.php on line 6085
YANTOR - Thailand Biennale Korat
Thailand Biennale Korat

Village traces

Village traces, 2021
Silk yarn, old silk fabric, old clothes, torso, wadding
Dimension variable 
Thailand Biennale, Korat 2021 commission

Photo : Kosuke Sakakura

YANTOR is a Japanese fashion brand started in 2008 by designer Kosuke Sakakura and pattern-maker Kensuke Yoshida. YANTOR understands fashion as a situational entity consisting of place, body, clothing. It realizes spatial relations with regional customs, climate, and culture.  Their Project “OnebyOne,” started in 2013, recording the spontaneous situations that arise in the communication with clothing.

Village traces, their project for Thailand Biennale collaborates with the village Kim-Ma-Au-Suan Mon, located in Nakhon Ratchasima Province, where the community continues to practice sericulture and handmade silk production to create the cylindrical traditional clothing phasin. Silk and phasin were originally made for the household, but their use has changed through the passage of time and transformations in lifestyle. YANTOR redesigned these phasins and used garments produced by the local community with local materials. The incentive was tracing and reinterpreting the village’s folk culture and contemporary lives. YANTOR was unable to visit Kim-Ma-Au-Suan Mon due to the pandemic. Attempting to have a distant dialogue with the village’s history, they researched the various material phenomena in the garments shipped to Japan, The installation of the new collection is rooted in the concept of utilizing the various dirt and wear, and even mouse bites, accrued in daily use. It reveals invisible context and phenomena in the materiality of the textiles:  One “wears the village.”

Archive work
project ONEbyONE situations 003
Inle, 2016, Myanmar,  

Clothes, Video, Photobook
Video : Goo Koyano
Photo : Katsuhiro Aoki
Book Design : Kohji Miyazoe

Production supported by Mr.Theparit Chaiyajan; Department of Industrial Design, Faculty of Art and Industrial Design and Ai Sakurai; English for International Communication Program, Faculty of Sciences and Liberal Arts Rajamangala University of Technology Isan

สืบทางหมู่บ้าน, 2564

เส้นไหม, ผ้าไหมเก่า, เสื้อผ้าเก่า, ลำตัวหุ่น, วัสดุยัดไส้
ขนาดผันแปรตามพื้นที่
ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ โคราช 2021 คอมมิชชัน

ถ่ายภาพ : Kosuke Sakakura 

ยันตอร์ เป็นแบรนด์แฟชั่นของญี่ปุ่นซึ่งก่อตั้งในปีค.ศ. 2008 โดยดีไซเนอร์ โคสุเกะ ซาคาคุระ (Kosuke Sakakura) และ นักออกแบบลวดลาย เคนสุเกะ โยชิดะ (Kensuke Yoshida) พวกเขามองแฟชั่นในฐานะสภาวการณ์อันประกอบด้วยสถานที่ ร่างกาย เสื้อผ้า และความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ต่อขนบธรรมเนียม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมประจำภูมิภาค โครงการ “OnebyOne” เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 2013 เป็นการบันทึกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากการสื่อสารกับเสื้อผ้า สำหรับงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ ยันตอร์ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรคึมมะอุ-สวนหม่อน ในจังหวัดนครราชสีมา ที่ยังคงเลี้ยงและสาวไหมแบบโบราณเพื่อทอไหมเป็นผ้าซิ่นทรงกระบอกอันเป็นเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิม เดิมทีผ้าซิ่นถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือนแต่การใช้งานได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ยันตอร์จึงออกแบบลายผ้าซิ่นขึ้นมาใหม่ โดยเลือกใช้ผ้าที่ผลิตโดยคนท้องถิ่น จากวัตถุดิบที่หาได้ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็เสาะหาและตีความวัฒนธรรมท้องถิ่นของหมู่บ้านเข้ากับชีวิตร่วมสมัยของเราเอง ยันตอร์ไม่สามารถเดินทางไปที่ชุมชนคึมมะอุ-สวนหม่อนได้ เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของไวรัส พวกเขาจึงศึกษาวัสดุและปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับเนื้อผ้าซึ่งถูกส่งไปให้ที่ญี่ปุ่น เพื่อพยายามแลกเปลี่ยนบทสนทนาทางไกลกับประวัติศาสตร์ของหมู่บ้าน ผลงานติดตั้งชุดนี้ มีรากฐานมาจากแนวคิดเรื่องการใช้คราบที่เปรอะเปื้อนและร่องรอยชำรุด ที่มีแม้กระทั่งรอยหนูแทะซึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เผยให้เห็นบริบทและปรากฏการณ์ที่มองไม่เห็นอันเป็นสาระสำคัญของสิ่งทอ นั่นคือ One “wears the village” หรือการสวมใส่ที่ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าเพียงหนึ่งชุด แต่เป็นการสวมใส่ทั้งหมู่บ้าน

โปรเจควันบายวันซิตูเอชัน 033 อินเล, 2559
เสื้อผ้า, วิดีโอ, สมุดภาพ
วิดีโอ : โกโอ โคยาโนะ 
ถ่ายภาพ : คาซึฮิโระ อาโอกิ 
ออกแบบสมุด : โคจิ มิซาโซเอะ

สนับสนุนการผลิตผลงาน โดย นายเทพฤทธิ์  ไชยจันทร์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม, อัย ซากุไร สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

YANTOR

Phimai National Museum

Open Daily
Main Gallery : 09.00 - 18.00
Open Storage : 09.00 - 20.00
Phi Mai District
See Venue

Subscribe